A woman in sport attires holding a shaker bottle and a scoop of Phytae plant-based protein.

รู้จักพืชที่มีโปรตีนสูง 10 ชนิด และข้อดีของเครื่องดื่มโปรตีนจากพืช

การเลือกรับประทานอาหารที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่คนรักสุขภาพไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันหลายคนหันมารับประทานโปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์กันมากขึ้น เพราะข้อดีหลายประการ โดยในบทความนี้ PHYTAE จะพาไปรู้จักกับประโยชน์โปรตีนจากพืช และพืช 10 ชนิด ที่ให้โปรตีนสูง

ข้อดีโปรตีนจากพืช

พืชบางชนิดสามารถให้โปรตีนกับร่างกายได้ไม่ต่างจากเนื้อสัตว์ แต่นอกเหนือจากนั้น พืชยังให้ประโยชน์ในด้านอื่นได้อีก อาทิ

  1. ไขมันต่ำ

เมื่อเทียบกับปริมาณไขมันที่พบในเนื้อสัตว์ ปริมาณไขมันที่พบในพืชถือว่าต่ำกว่ามาก โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ซึ่งการรับประทานไขมันอิ่มตัวปริมาณมากเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และก่อให้เกิดโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือด

  1. วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย

ร่างกายของคนเราควรได้รับวิตามินที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอ โดยกลุ่มวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ วิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง ต้องอาศัยการรับประทานเข้าไป ยกตัวอย่าง วิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินอี เป็นต้น ซึ่งวิตามินเหล่านี้สามารถพบได้ในพืชผัก เช่น วิตามินซีในถั่วลันเตา บร็อกโคลี และดอกกะหล่ำ เป็นต้น

  1. ไฟเบอร์สูง

พืชส่วนใหญ่มีไฟเบอร์ หรือเส้นใยอาหารอยู่มาก ซึ่งไฟเบอร์มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูก อีกทั้งไฟเบอร์ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และลดระดับความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง

  1. ช่วยเลี่ยงการรับประทานสารพิษ

เนื้อสัตว์ในท้องตลาดจำนวนหนึ่งถูกตรวจพบว่ามีสารอันตรายจำพวกสารบอแรกซ์และฟอร์มาลินอยู่ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้เนื้อสัตว์ดูมีสีสันสวยงามและสดใหม่ แต่สารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย การรับประทานโปรตีนจากพืชจึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานพืชที่ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงในกระบวนการเพาะปลูก และไม่มีการใช้สารอันตรายอื่นๆ ในกระบวนการเก็บเกี่ยวและถนอมอาหาร

รู้จักพืช 10 ชนิด ที่ให้โปรตีนสูง

  1. บร็อกโคลี

บร็อกโคลีให้ปริมาณโปรตีนที่ 3.2 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม โดยในบร็อกโคลีมีวิตามินที่มีประโยชน์มากมาย เช่น กรดโฟลิก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อนในครรภ์ ซ่อมแซมพันธุกรรม ช่วยชะลอวัย ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ดังนั้นบร็อกโคลีจึงเป็นพืชที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

  1. ผักโขม

สำหรับปริมาณโปรตีนในผักโขมอยู่ที่ 3.8 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม โดยผักโขมเป็นพืชที่ปราศจากกลูเตน จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการแพ้กลูเตน

  1. ปวยเล้ง

พืชที่มักถูกจำสลับกับผักโขม โดยปวยเล้งให้ปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 2.9 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม เหมาะสำหรับการใส่ในจานสลัด หรือประกอบอาหารประเภทต้มและอบ ให้วิตามินที่จำเป็นหลายชนิด เช่น วิตามินเค และวิตามินซี เป็นต้น

  1. ถั่วแระญี่ปุ่น

ถั่วแระญี่ปุ่นให้ปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 11 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม เหมาะกับการรับประทานเป็นของว่างแทนขนมกรุบกรอบ เพราะถั่วแระญี่ปุ่นมีไฟเบอร์สูง ช่วยให้อิ่มท้องได้นาน พร้อมลดการรับประทานขนมจุกจิกที่ไม่มีประโยชน์ไปในตัว

  1. ต้นอ่อนทานตะวัน

ต้นอ่อนทานตะวันมีปริมาณโปรตีนสูงถึง 23 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม สามารถนำไปผัดเพื่อรับประทาน หรือทำเป็นสลัดผักก็ได้ โดยต้นอ่อนทานตะวันมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงสายตา และป้องกันโรคอัลไซเมอร์

  1. ควินัว

อีกหนึ่งธัญพืชที่ได้รับความนิยมจากคนรักสุขภาพ โดยควินัวให้ปริมาณโปรตีนที่ 14 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม เหมาะกับการรับประทานเป็นของว่าง หรือผสมกับโยเกิร์ต นม และสลัด เพื่อรับประทานในมื้อที่ต้องการควบคุมปริมาณอาหาร

  1. หน่อไม้ฝรั่ง

พืชลำต้นอวบที่มีปริมาณโปรตีน 2.2 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดหน่อไม้ฝรั่ง ซุปหน่อไม้ฝรั่ง หรือหน่อไม้ฝรั่งต้มที่เสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงในเมนูสเต๊ก

  1. มันเทศ

มันเทศเป็นพืชที่นิยมรับประทานเพื่อควบคุมอาหาร โดยมันเทศมีปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 1.6 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม เหมาะสำหรับการนำไปเผา หรือนึ่งก่อนรับประทาน ให้รสชาติหวาน ช่วยให้อิ่มท้องได้นาน

  1. ถั่วงอก

ถั่วงอกเป็นพืชที่สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและมีราคาไม่สูง ซึ่งถั่วงอกให้ปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 3.04 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม อย่างไรก็ตาม ถั่วงอกถือเป็นพืชที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีอยู่มาก ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดก่อนนำมารับประทาน

  1. ใบอ่อนถั่วพู

พืชอีกหนึ่งชนิดที่ให้ปริมาณโปรตีนสูง โดยใบอ่อนถั่วพูให้ปริมาณโปรตีนที่ 29.65 กรัม ต่อปริมาณสุทธิ 100 กรัม เหมาะสำหรับการรับประทานคู่กับน้ำพริก หรือทำเป็นเมนูยำ

A bowls of pumpkin seeds, cashew nuts, and sesame surrounded by various types of vegetable and plants,

ข้อดีเครื่องดื่มโปรตีนจากพืช

ร่างกายของคนเราในแต่ละวันควรได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น นายเอหนัก 60 กิโลกรัม ดังนั้นปริมาณโปรตีนที่ร่างกายนายเอควรได้รับในแต่ละวัน คือ 60 กรัม ซึ่งนายเอต้องรับประทานพืชในปริมาณมาก เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการ 

การรับประทานเครื่องดื่มโปรตีนจากพืชมีข้อดี คือ ช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ โดยไม่ต้องรับประทานพืชในปริมาณมาก อีกทั้งยังสามารถกำหนดปริมาณโปรตีนที่ต้องการได้เอง ซึ่งเครื่องดื่มโปรตีนจากพืชมักมีการใส่คุณประโยชน์อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เครื่องดื่มโปรตีนจากพืชของ PHYTAE ที่กรดอะมิโนจำเป็น วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสุขภาพหรือคุณประโยชน์ของโปรตีนพืช Phytae ได้ที่ เรื่องราวสุขภาพน่ารู้

สนใจสั่งซื้อเครื่องดื่มโปรตีนจากพืช PHYTAE ติดต่อได้ที่ไหน

a line up of plant-based protein, Phytae. available in dark-chocolate flavor and plain flavor.

สำหรับผู้สนใจสั่งซื้อเครื่องดื่มโปรตีนจากพืช Phytae เรามีด้วยกัน 2 รสชาติ คือ Phytae Plant-Based Protein รสออริจินอล และอีกรสชาติคือ Phytae Plant Protein รสดาร์กช็อกโกแลต โดยสามารถเลือกได้ทั้งแบบกระปุกขนาด 400 กรัมและแบบกล่องฉีกซอง สั่งซื้อสินค้าได้ผ่านช่องทางการจำหน่าย ดังนี้

ซื้อเครื่องดื่มโปรตีนจากพืช Phytae

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *